อาร์. ไมเคิล โดโนแวน ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ได้กล่าวว่าวัตถุประสงค์ของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ก็คือ การทำให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพสูงด้วยความเร็วสูง ซึ่งจะทำให้ซัพพลายเออร์ (Supplier) สามารถจัดส่งสินค้าไปถึงมือลูกค้าได้ทันตามกำาหนดเวลาโดยไม่มีการติดขัด (Donovan, 2013)
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ปัญหาสินค้าล้นสต๊อคเนื่องจากเกิดความแปรปรวนของข้อมูลในระหว่างที่มีการสั่งสินค้าจากลูกค้า การผลิตของโรงงานผลิต รวมไปจนถึงการเตรียมและจัดส่งวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ นอกจากนี้ความลังเลต่อการสั่งสินค้าโดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้า และการพยากรณ์แบบต่างคนต่างทำ (Independent Forecasting) ยังก่อให้เกิดการบิดเบือนผิดรูปในกระบวนการจัดส่งสินค้า ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายและทำลายห่วงโซ่อุปทานนั้นๆ ได้ ซึ่งปัญหาต่างๆ ดังกล่าวส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์หนึ่งที่เรียกว่าปรากฏการณ์แส้ม้า (Bullwhip Effect)
สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์แส้ม้าได้แก่ (Lee, Padmanabhan and Whang, 1997)
1. การพยากรณ์ที่ผิดพลาด (Incorrect Demand Forecast)
2. ความต้องการสั่งของแต่ละครั้งในปริมาณมากๆ (Order Batching)
3. ความผันผวนของราคา (Price Fluctuation) และ
4. การพยายามกักตุนสินค้า (Shortage Gaming)